จ่ายแล้วไปไหน? เรื่องภาษีที่ต้องรู้ในยุค Digital

Share This Post

ในทุกวันนี้ธุรกิจต่างๆได้หันมาทำ Digital Marketing กันมากขึ้นและเป็นช่องทางที่สำคัญในการทำการตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการหลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นการทำ Facebook fan page ที่ต้องมีการ Boost Post หรือซื้อโฆษณากับทาง Facebook รวมไปถึงการทำ SEO และ SEM เพื่อโปรโมท Website กับ Google และช่องทางอื่นๆไม่ว่าจะเป็น YouTube หรือ Line

วันนี้เราจะมานำเสนอเรื่องราวที่ผู้ประกอบการทุกๆท่านต้องรู้เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินในยุค Digital ไม่ว่าจะเป็นหลักในการจ่ายค่าบริการให้กับ Digital Platform ต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงข้อกฏหมายในเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้อง โดยคุณ กัณทิมา เคอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน จาก IPG Mediabrands Thailand มาฝากทุกๆท่าน

กัณทิมา เคอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน
กัณทิมา เคอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน

1. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อโฆษณาบน Digital (ออนไลน์?) แตกต่างกับการซื้อสื่อโฆษณาแบบอื่นๆอย่างไร ในแง่ของเอกสารสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้หรือไม่?
ไม่ต่างเลยค่ะ ทั้ง 2 กรณีสามารถนำรายจ่ายมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของธุรกิจได้ ถ้าหากการจ่ายนั้น

  1. เป็นการจ่ายจริง
  2. เกี่ยวข้องกับกิจการ
  3. มีหลักฐานการจ่ายครบถ้วน

โดยหากกิจการเป็นบุคคลธรรมดาและเลือกเสียภาษีแบบหัก “ค่าใช้จ่ายตามจริง” ก็ควรจะต้องมีหลักฐานการจ่ายที่ชัดเจน เช่น ระบุชื่อเราเป็นชื่อผู้ซื้อ ระบุว่าจ่ายเพื่องานอะไร (แนบชิ้นงานด้วยก็จะดีมาก) และจ่ายไปเท่าไรบ้าง หรือในกรณีที่ใช้บัตรเครดิตของกรรมการหรือบัตรเครดิตส่วนตัวจ่ายไป ก็ให้ขอใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงินในนามของบริษัท จึงจะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้

2. รายได้จากการขายของผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube , Line ต้องเสียภาษีหรือไม่ ?
ต้องเสียภาษีค่ะ หากเป็นบุคคลธรรมดาก็เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่หากเป็นบริษัทก็จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทั้ง 2 กรณีนี้ หากกิจการเกิดค้าขายดี มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมยื่นชำระภาษีขายอีก 7% ด้วย

3. ค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อโฆษณา Google, Facebook มีประเด็นทางภาษีอย่างไรบ้าง ที่กิจการพึงต้องระวัง?

เรื่องนี้ มีภาษีที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล – ถ้ารายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท บริษัทสามารถถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฏากร
  1. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ระบุไว้ว่า “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้” แต่เนื่องจากรายได้จากการให้บริการของ Google, Facebook นั้นถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) ดังนั้นเมื่อบริษัทจ่ายเงินได้ให้กับนิติบุคคลตามกฏหมายต่างประเทศจึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
  1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม – การให้บริการของ Google, Facebook เข้าข่ายเป็นการให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรไทยจึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดย”ผู้จ่าย” เป็นผู้มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทน โดยให้นำส่งด้วยแบบ ภ.พ.36 ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าโฆษณาที่ได้จ่ายไป โดยกิจการสามารถนำมาใช้เป็นภาษีซื้อของธุรกิจได้ด้วย

IMG_8136

การทำ Digital Marketing กำลังเติบโตถึงขีดสุดแล้วนะครับแต่สิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไม่ได้เลยคือการจัดการเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายภาษีให้ถูกต้องซึ่งเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเราศึกษาและทำให้ถูกต้องแล้วหล่ะก็จะช่วยให้เราทำธุรกรรมบนโลก Digital ได้อย่างสบายใจนะครับ

 

15731995_10154802680482207_2808887760603311513_o
Teeppipat Buamuenvai
Corporate Communications Manager
IPG Mediabrands Thailand

spot_img

Related Posts

กิจกรรม Optimize ใจ Optimize บุญ กับ หลวงพี่โก๋

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาทาง IPG Mediabrands จัดกิจกรรม Connecting...

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...