“คอนเทนต์ภาษาหยาบ” โดนใจผู้บริโภคยุคนี้จริงหรือ?

Share This Post

อย่างที่เรารู้ๆกันอยู่ว่าทุกวันนี้ผู้บริโภคแทบจะเสพสื่อออนไลน์เป็นสื่อหลักไม่ว่าจะอัพเดทดราม่า, ไลฟ์สไตล์ หรือเรื่องบันเทิง ผ่านทางเพจต่างๆที่อยู่ในเฟสบุค ซึ่งในระยะหลังๆก็ได้มีเพจใหม่ๆทยอยขึ้นมาอย่างมากมายแถมยังสามารถเรียกได้ทั้งยอดไลค์และ engagement จากผู้คนได้สูงลิบในระยะเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

หากลองสังเกตเพจต่างๆเหล่านั้นดู จะพบว่า content และบทสนทนาโต้ตอบระหว่างเพจและลูกเพจมักจะใช้ภาษาที่เป็นกันเองอย่าง “กู”  “มึง” ในการพูดคุย รวมไปถึงคำสบถต่างๆอีกมากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นภาษาบ้านๆที่เพื่อนมักใช้คุยกับเพื่อน  โดยภาษาเหล่านี้หลายๆคนอาจมองว่าเป็นคำหยาบ แต่ก็กลับถูกใจผู้บริโภคเป็นอย่างมาก จึงทำให้เพจเหล่านี้มี engagement rate และ ยอด fans ที่สูง ทำให้แบรนด์หลายๆแบรนด์ ตัดสินใจที่จะนำสินค้าของตัวเองไปโปรโมตในเพจดังกล่าวโดยใช้ตัวจนกับภาษาที่เพจนั้นๆใช้ เพื่อทำให้การโพสต์โฆษณาดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด

ถ้ายังจำกันได้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในยุคที่สื่อโทรทัศน์ยังเป็นพี่ใหญ่แบบไม่มีใครสามารถสั่นคลอนบัลลังก์ลงได้นั้น คำสบถทั่วไปที่คนทั่วไปที่เพื่อนใช้คุยกัน หรือแม้แต่คำว่า “กู” “มึง” ซึ่งเป็นภาษาปากที่คนหลายๆคนใช้พูดกันเป็นปกติ กลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบ อีกทั้งยังโดนเซนเซอร์ดูดคำออกอีกด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชน แต่พอมาถึงทุกวันนี้ในยุคแห่งโซเชียลมีเดีย เกิดอะไรขึ้นกับจริตของผู้บริโภคที่สามารถยอมรับอีกคอนเทนต์ภาษาหยาบได้อย่างไม่เคอะเขิน อีกทั้งยังรู้สึกชื่นชอบและสนุกกับการเสพคอนเทนต์แบบนี้กัน

หนูชอบตามเพจน้องค่ะ บางครั้งก็ไปตอบในคอมเนต์ รู้สึกว่าเป็นกันเองดีค่ะ ไม่ประดิษฐ์ ดูจริงใจเหมือนคุยกับเพื่อน เพราะคุยกับเพื่อนปกติก็พูดคำพวกนี้อยู่แล้ว ส่วนพวกโฆษณาที่เขาโพสต์ก็รู้นะคะว่าเป็นโฆษณาแต่ก็ไม่ได้แอนตี้เพราะว่าเขาก็ขายตรงๆแบบฮาๆเราก็สนุกไปด้วยจนบางครั้งก็สนใจสินค้านั้นจริงๆ” นางสาว ฐิติรัตน์ นักเรียนอายุ 15 ปีกล่าว

shutterstock_208388032

“ผมว่ามันดูใจๆดี ไม่เฟคว่ะ จะขายของก็ขายเล้ย อย่างเพจอีเจี๊ยบเนี่ยเวลามันจะขายของเอาจริงๆมันก็ไม่เนียนหรอกนะ พวกเราก็รู้ แต่มันตลกดีบางทีเราก็สนใจไอ้ที่มันโพสต์โฆษณาอยู่จริงๆนะ มันเหมือนกับเพื่อนแนะนำเพื่อนอ่ะ บางทีพูดเพราะๆมันดูไม่น่าไว้ใจ แบบจะมาหลอกอะไรกูป่ะวะ อีกอย่างนึงก็คือเหมือนเป็นที่ที่ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่” นาย โชติพันธ์ นักศึกษา อายุ 20 เล่าให้ฟังถึงความรู้สึก

จากบทสัมภาษณ์ข้างต้นทำให้เราสังเกตุได้ว่าการเลือกใช้ภาษาที่เป็นกันเองเช่น “กู กับ มึง” ผสมกับคำสบถแรงๆบ้างในบางครั้ง ประกอบกับคอนเทนต์ที่น่าสนใจของแต่ละเพจทำให้ผู้บริโภครู้สึกเหมือนว่าแอดมินเพจเป็นคนที่จับต้องได้ รู้สึกสนุกเหมือนได้คุยกับเพื่อนที่พูดภาษาเดียวกันในโลกความเป็นจริง  ซึ่งในขณะเดียวกัน Official Page ของแบรนด์ต่างๆกลับไม่สามารถคุยกับผู้บริโภคด้วยภาษาแบบนั้นได้ ดังน้นเพจต่างๆพวกนี้จึงได้กลายเป็นอีกช่องทางการสื่อสารทดแทนที่แบรนด์สามารถใช้เพื่อสื่อสารกับผู้บริโภคได้อย่างเป็นธรรมชาติและเพื่อสื่อเป็นนัยได้ว่าแบรนด์กำลังพูดภาษาเดียวกันกับพวกเขา และเป็นส่วนหนึ่งของพวกเขาอย่างแท้จริง

ในทางกลับกันบางกรณีที่บางแบรนด์ตัดสินใจเลือกสื่อสารโดยใช้เพจที่ใช้ถ้อยคำเป็นกันเองแต่กลับกลัวและรู้สึกเซ้นส์ซิทีฟกับคอนเทนต์ดังกล่าว เลยเข้ามาควบคุมภาษาและสไตล์ของเพจที่ตนเลือกใช้มากเกินไป จึงทำให้คอนเทนต์ไปได้ไม่สุด เพราะหมดเสน่ห์จากการสูความญเสียตัวตนของเพจนั้นๆที่แบรนด์เลือกใช้ เลยทำให้ KPI ที่อุตส่าวางไว้ไม่เป็นไปตามแพลน

ทั้งนี้หากแบรนด์มีความเข้าใจในผู้บริโภคของตัวเองว่าเขาชอบเสพสื่อสไตล์ไหน เขาพูดภาษาแบบไหน เขาชอบอะไร แล้วมาพิจารณาต่อว่าเราเลือกที่จะพูดภาษาเดียวกัน หรือคุยเรื่องเดียวกันกับเขาหรือไม่ แบรนด์ก็จะสามารถตัดสินใจได้ว่าควรเลือกสื่อสารกับเขาด้วยถ้อยคำไหนผ่านสื่อการสื่อสารนั้นสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด

 

Joy

Patcharakamol Esdul
Senior Content Strategist

spot_img

Related Posts

กิจกรรม Optimize ใจ Optimize บุญ กับ หลวงพี่โก๋

เมื่อวันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมาทาง IPG Mediabrands จัดกิจกรรม Connecting...

รีไพร์ส ประเทศไทย ผลักดันความแข็งแกร่งการศึกษาไทยด้าน Digital Marketing

ล่าสุด คุณศุภฤกษ์ ตั้งเจริญศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท รีไพร์ส ประเทศไทย (Reprise Thailand)...

รู้ทันไลฟ์สไตล์ GEN Y ที่เปลี่ยนไป พร้อมกลยุทธ์เข้าถึงใจ GEN Y ในวันนี้

  ในปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรในช่วง GEN Y (พ.ศ. 2523 – 2543) โดยอายุอยู่ที่ประมาณ 25...

UM Thailand ต่อยอดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ‘UM Impact Day’ ปีที่ 6

กรุงเทพฯ 24 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 –  UM Thailand ล่าสุดจัดกิจกรรมด้านความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมประจำปีผ่านการรวบรวมขยะพลาสติกมาสร้างประโยชน์เพื่อลดจำนวนขยะที่เกิดขึ้นในพื้นที่สำนักงานพร้อมบริจาคทุนสนับสนุน บนความร่วมมือกับ Precious...

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ชี้ กลุ่มนักท่องเที่ยวจีนในไทย กลุ่มเป้าหมายที่น่าจับตามอง

อินิชิเอทีฟ ประเทศไทย ล่าสุดจัดงานสัมมนา Initiative Thought Leadership 2023 ในหัวข้อ “Growth Beyond Thai Audience” อัพเดทกลุ่มลูกค้าชาวจีนในไทยที่น่าจับตามอง...

เตือนภัย! เรื่องแอบอ้างชื่อบริษัท

สืบเนื่องจากการแอบอ้างผ่านช่องทางออนไลน์อ้างอิงเกี่ยวกับ บริษัท โอไรอ้อน เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีบัญชีผู้ใช้ Tiktok ได้แอบอ้างชื่อหรือข้อมูลของบริษัทฯ...