สิ่งแรกที่คุณทำหลังจากที่กัปตันปิดสัญญาณรัดเข็มขัดนิรภัยคืออะไร ? เดินเข้าห้องน้ำ, เอื้อมไปหยิบหนังสือ หรือเปิดระบบความบันเทิงที่สายการบินเตรียมไว้ให้? ผมเชื่อว่าหลายๆคนจะเอื้อมไปสัมผัสหน้าจอที่อยู่ตรงหน้าแทบจะในทันทีในการหาความบันเทิงให้กับตัวเอง โดยเฉพาะสำหรับเที่ยวบินระยะไกล
การสร้างความบันเทิงระหว่างการเดินทางด้วยอากาศยานนั้นมีมานานแล้ว ถ้าจะให้ย้อนกันไปถึงระบบความบันเทิงบนอากาศยานโดยเฉพาะการฉายหนังบนเครื่องบินนั้นมีมาตั้งแต่ปี 1921 โดยสายการบิน Aeromarine Airways ที่ฉายภาพยนตร์เรื่อง Howdy Chicago และอีก 11ปีต่อมา ในปี 1932 ต่อมาสายการบิน Western Air Express ก็สามารถให้บริการดูโทรทัศน์บนเครื่องบินได้
แต่ถ้าจะพูดถึง ความบันเทิงแบบเหนือระดับและครบวงจรของการบินในอดีตก็ต้องยกให้กับ เรือเหาะ Hindenburg ที่มีทั้ง เปียโน ห้องสูบบุหรี่ ห้องทานอาหาร บาร์เครื่องดื่มไว้คอยบริการตลอด ระยะเวลาการเดินทางตลอด 2 วันครึ่ง บนเส้นทางระหว่างยุโรปและอเมริกา ในปี1936 ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นต้นแบบของชั้น First Class ของการบินในปัจจุบัน
การพัฒนาระบบความบันเทิงบนเครื่องบินนั้นเติบโตควบคู่ไปกับเทคโนโลยีที่นับวันจะทำให้โลกของเราเล็กลงเรื่อยๆและความต้องการของผู้คนที่จะเสพย์คอนเท้นต์ต่างๆก็มีความหลากหลายมากขึ้น เช่นเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้การเปิดโทรศัพท์มือถือบนเครื่องยังเป็นเรื่องที่ถูกห้ามแต่ในปัจจุบันแทบทุกสายการบินต้องแข่งขันความเร็วในการให้บริการ Wifi-Onboard กันแล้ว และในยุคที่ความบันเทิงบนเครื่องบินได้มีการแข่งขันกันอย่างหนักอย่างเช่นปัจจุบัน ทำให้ทุกๆที่นั่งบนเครื่องบินไม่ว่าจะเป็นคลาสไหนๆก็ต้องมีการให้บริการระบบจสัมผัสอที่เต็มไปด้วยความบันเทิงหลากหลาย ตั้งแต่ ภาพยนตร์ , รายการทีวี , วีดีโอเกมส์ , การเลือกซื้อสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย
ในขณะที่หลายๆสายการบินพยายามเอาชนะกันด้วยการเพิ่มอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆกับผู้โดยสารให้มากที่สุด, ไม่ว่าจะด้วยจอที่ใหญ่กว่า คอนเท้นต์ที่มากกว่า หรือ ฟังค์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น กลับมีสายการบินอย่าง American Airline , Jetstar, WestJet and Virgin Australia เริ่มคิดสวนทางด้วยการลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนกับความบันเทิงบนเครื่องบินลงอย่างสิ้นเชิง, โดยทาง American Airline ได้เริ่มต้นการงดการติดตั้งจอกับเครื่องบิน สี่ลำใหม่ที่กำลังสั่งเข้ามา แต่ได้เพิ่มการลงทุนกับการให้บริการ Internet ความเร็วสูงแทนเพราะจากการสำรวจพบว่าผู้โดยสารมากกว่า 90 % มีการพกพาอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถเข้าถึงความบันเทิงได้มากมายอยู่แล้ว
การปรับปรุงรูปแบบการให้บริการของสายการบินเหล่านี้น่าจะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการเสพย์สื่อที่เปลี่ยนไปของกลุ่มผู้บริโภค โดยมีปัจจัยเรื่องเทคโนโลยีเป็นสำคัญ แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของสายการบินต่างๆที่เอ่ยมาก่อนหน้านี้จะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ด้วยความพึงพอใจของผู้โดยสารว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือผิด แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ได้แน่นอนคือ ความจริงที่ว่า อุปกรณ์สื่อสารแบบพกพาทั้งหลายได้มีบทบาทมากขึ้นในทุกๆวัน และในอนาคต Agency ต่างๆอาจจะต้องคิดถึงการทำ Campaign หรือผลิต Content เพื่อกลุ่มเป้าหมายที่อยู่บนฟ้าเหล่านี้โดยเฉพาะก็ไม่น่าที่จะเป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป
เพราะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จะมีค่าเฉลี่ยในการใช้เวลากับอุปกรณ์สื่อสารค่อนข้างสูงและสามารถวางแผนคู่กับการทำ Offline ที่จุดหมายในการเดินทางของเค้าก็น่าจะสร้างความต่อเนื่องให้กับการเข้าถึงแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
*สายการบินสามารถประหยัดเงินได้มากกว่า หนึ่งร้อยล้านบาท ต่อลำรวมไปถึงค่าน้ำมันกับน้ำหนักพี่เพิ่มขึ้นอีกกว่า สามล้านบาทต่อปีต่อเครื่องบินหนึ่งลำ (วัดค่าจากเครื่อง Boing 767 มีที่นั่งทั้งหมด260ที่ )
Teeppipat Buamuenvai
Corporate Communications Manager
IPG Mediabrands Thailand